เงินนิวยอร์ก : ดอลล์อ่อนเทียบสกุลเงินหลักลดลง 0.54% ตามทิศทางบอนด์ยีลด์สหรัฐ
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (9 ก.พ.) โดยดอลลาร์ปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่อ่อนตัวลงเมื่อคืนนี้ ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุล ลดลง 0.54% สู่ระดับ 90.4427 เมื่อคืนนี้
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 104.54 เยน จากระดับ 105.22 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.8918 ฟรังก์ จากระดับ 0.8986 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2695 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2741 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2117 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2055 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3811 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3742 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7737 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7703 ดอลลาร์สหรัฐ
ดอลลาร์ปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีซึ่งลดลงสู่ระดับ 1.143% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวลงสู่ระดับ 1.923% เมื่อคืนนี้
นักลงทุนยังติดตามความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ หลังจากสภาคองเกรสให้ความเห็นชอบต่อแนวทางการพิจารณาอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์แบบ fast track เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยปูทางให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของปธน.ไบเดนสามารถผ่านสภาคองเกรสโดยไม่จำเป็นต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรครีพับลิกัน
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยล่าสุดเมื่อคืนนี้ สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 6.65 ล้านตำแหน่งในเดือนธ.ค. จาก 6.572 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ย.
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค., สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนธ.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ufa
ดอลลาร์สหรัฐ (อังกฤษ: United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก[1] รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับ 31.19 บาท (อัตราแลก-เปลี่ยน ณ วันที่ 13 ส.ค. 15:00 UTC)
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ[2] และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป
ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า “เพนนี” (penny), 5 เซนต์ ว่า “นิกเกิล” (nickel), 10 เซนต์ ว่า “ไดม์” (dime), 25 เซนต์ ว่า “ควอเตอร์” (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า “บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)” (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand)
รายการของสกุลเงินโลก
สกุลเงินต่างประเทศเป็นผลิตภัณฑ์หลักในแง่ของการเทรดฟอเร็กซ์ มีสกุลเงินทั้งหมด 180 สกุลเงินในโลกซึ่งหมุนเวียนอยู่ใน 197 ประเทศ
สกุลเงินที่นิยมมากที่สุดในการเทรดฟอเร็กซ์คือดอลลาร์สหรัฐ (US Dollar) มูลค่าการซื้อขายรวมในปี 2015 สร้างรายได้ 88% ของธุรกรรมสกุลเงินทั้งหมด สกุลเงินที่นิยมอันที่ 2 คือยูโร (EUR) จัดเป็น 31% ของการดำเนินการฟอเร็กซ์รวม หลังจากสกุลเงินผู้นำจะตามด้วยสกุลเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ปอนด์ (GBP) ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) ดอลลาร์แคนาดา (CAD) ฟรังก์สวิส (CHF) และ หยวนจีน (CNY) ซึ่งแต่ละสกุลเงินมีมูลค่าการซื้อขายรวมอยู่ที่ 5%