เงินนิวยอร์ก : ดอลล์แข็งเทียบสกุลเงินหลักเพิ่มขึ้น 0.39% รับข้อมูลเศรษฐกิจสดใส
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ รวมทั้งการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค.ของสหรัฐในวันนี้
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.39% สู่ระดับ 91.5209 เมื่อคืนนี้
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 105.52 เยน จากระดับ 105.05 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9039 ฟรังก์ จากระดับ 0.8993 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2831 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2780 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1966 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2025 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3674 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3642 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7601 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7621 ดอลลาร์สหรัฐ
ดอลลาร์สหรัฐได้รับปัจจัยหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือนธ.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.7% หลังจากพุ่งขึ้น 1.3% ในเดือนพ.ย. โดยการดีดตัวของคำสั่งซื้อภาคโรงงานได้รับแรงหนุนจากการที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ หลังจากมีการปิดเศรษฐกิจก่อนหน้านี้เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ทางด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงสู่ระดับ 779,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่สัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 28 พ.ย.2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 830,000 ราย จากระดับ 812,000 รายที่มีการรายงานในสัปดาห์ก่อนหน้านี้
นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค.ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยในคืนนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งคาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้น 50,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. หลังจากลดลง 140,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย.
นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้พบปะกับสมาชิกสภาคองเกรส ด้วยความหวังที่จะผลักดันมาตรการดังกล่าวให้ผ่านการอนุมัติของรัฐสภา แม้เผชิญเสียงท้วงติงจากสมาชิกพรรครีพับลิกันเกี่ยวกับวงเงินที่สูงถึง 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ufa
ดอลลาร์สหรัฐ (อังกฤษ: United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก[1] รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับ 31.19 บาท (อัตราแลก-เปลี่ยน ณ วันที่ 13 ส.ค. 15:00 UTC)
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ[2] และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป
US Dollar Index คืออะไร?
US Dollar Index ( หรือ Dollar Index – USDX, DXY, DI ภาษาไทยว่าดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ) คือดัชนีที่วัดความแข็งของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินต่าง ๆ ซึ่งจัดทำ ดูแลและเผยแพร่โดย ICE (International Exchange Inc.)
US Dollar Index เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2516 หลังการสิ้นสุดของระบบเบรตตันวูดส์ US Dollar Index มีค่าฐานอยู่ที่ 100.00 จุด โดยที่จุดสูงสุดอยู่ที่ 164.7200 จุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2528 และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 70.698 จุด ณ วันที่ 16 มีนาคม 2551 ซึ่งอยู่ในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
หาก US Dollar Index เพิ่มขึ้นสูงกว่า 100 จุด หมายความว่า ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงิน เช่น 120.00 จุด หมายความว่า US Dollar Index แข็งค่าขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ (120-100 = 20 )
หาก US Dollar Inde xลดลงต่ำกว่า 100 จุด หมายความว่า ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงิน เช่น 80.00 จุด หมายความว่า US Dollar Index อ่อนค่าลง 20 เปอร์เซ็นต์ (100-80 = 20 )
วิธีคำนวณ US Dollar Index
คุณสามารถคำนวณโดยใช้สูตรดังนี้
US Dollar Index = 50.14348112 × EUR/USD^(-0.576) × USD/JPY^(0.136) × GBP/USD^(-0.119) × USD/CAD^(0.091) × USD/SEK^(0.042) × USD/CHF^(0.036)
โดยที่ ^ เท่ากับ ยกกำลัง